พระประธานประจำพระอุโบสถ ปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๕ เมตร มีฐานชุกชี ลวดลายสวยงาม มีพระปรางค์ ๒ องค์
พระเจดีย์ ๒ องค์ เป็นโบราณสถานเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
อายุกว่า ๖๐๐ ปีอายุสมัยของโบราณวัตถุสถานในวัดสระบัว
ประวัติความเป็นมาของปางสมาธิ หรือปางตรัสรู้
ปางพระพุทธรูปคือลักษณะของรูปสมมุติของพระพุทธเจ้าในอริยะบทต่าง ๆ
ซึ่งสร้างขึ้นตามความเชื่อในพุทธประวัติ
โดยช่างสมัยโยนก (คันธารราฐ)
ราชวงศ์คุปตะ (พ.ศ. ๘๖๓ -
๑๐๒๓)
เป็นชาวกรีกพวกแรกที่กำหนดรูปแบบปางพระพุทธรูป ต่อมาช่างชาวอินเดียฝ่ายใต้
ซึ่งเป็นชาวกลิงคราฐข้างฝ่ายใต้รวมทั้งในยุคสมัยต่าง ๆ
ในภายหลังได้คิดปางพระพุทธรูป
เพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก
พระพุทธรูปปางสมาธินี้ พระอิริยาบทนั่งขัดสมาธิ
พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาวางบนพระหัตถ์ซ้าย นั่งลำพระองค์ตั้งตรงพระบาท (เท้า) ทั้งสองซ้อนกันโดยพระบาทขวาซ้อนทับอยู่บนพระบาทซ้าย จัดเป็นปฐมปาง ด้วยพระองค์ทรงอยู่ในพระอิริยาบทนี้ในคืนวัน "ตรัสรู้ "
พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาวางบนพระหัตถ์ซ้าย นั่งลำพระองค์ตั้งตรงพระบาท (เท้า) ทั้งสองซ้อนกันโดยพระบาทขวาซ้อนทับอยู่บนพระบาทซ้าย จัดเป็นปฐมปาง ด้วยพระองค์ทรงอยู่ในพระอิริยาบทนี้ในคืนวัน "ตรัสรู้ "
พระพุทธประวัติ
หลังจากพระพุทธเจ้าทรงกำจัดพระยามาร
และเสนามารให้ปราชัยไปแล้ว
ด้วยพระบารมีตั้งแต่เวลาเย็นก่อนพระอาทิตย์ตก (ปางมารวิชัย)
เมื่อปราบมารเสร็จแล้วจึงเปลี่ยนมาแสดงปางสมาธิอีกครั้งหนึ่ง
พระองค์ทรงเจริญสมาธิภาวนาด้วยท่านั่งสมาธินี้ จนทำจิตให้ปราศจากอุปกิเสส บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน
และจตุถฌาน
ซึ่งเป็นส่วนรูปสมาบัติที่เรียกว่า
"เข้าฌานสมาบัติ"
จากนั้นก็ใช้ฌานสมาธิที่แน่วแน่เจริญปัญญาหรือองค์วิปัสสนาจนได้บรรลุ
"ญาณ" (คือความรู้เแจ้ง) ที่เรียกว่า "อภิญญาญาณ" (ความรู้แจ้งอันประเสริฐสุด)
ทั้งสามประการคือ
ทรงบรรลุญาณที่หนึ่งในตอนปฐมยาม (ประมาณ ๓ ทุ่ม) ญาณนี้เรียกว่า
"บุพเพนิวาสนุสติญาณ"
หมายถึงความรู้แจ้งถึงอดีตชาติหนหลังทั้งของตนและของคนอื่น พอถึงมัชฌิมยาม
(ประมาณเที่่ยงคืน) ก็ได้บรรลุญานที่สองที่เรียกว่า "จุตูปปาตญาณ" หมายถึงความรู้แจ้งถึงความจุติ คือดับและเกิดของสัตว์โลก ตลอดจนถึงความต่างกันที่เรียกว่า "กรรม" พอถึงปัจฉิมยาม (หลังเที่ยงคืนล่วงแล้ว)
ทรงบรรลุญาณที่สามคือ
"อาสวักขยญาณ" หมายถึงความรู้แจ้งถึงความสิ้นไปของกิเลสและอริยสัจสี่ คือความทุกข์
(ทุกข์) เหตุเกิดของความทุกข์ (สมุทัย) ความดับทุกข์ (นิโรธ) วิธีดับทุกข์
(มรรค) และกำจัดอวิชชาไปจนสิ้นจากกมลสันดานจนได้บรรลุอนุตสัมมาสัมโพธิญาณ
ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเวลารุ่งอรุโณทัย ตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕
ค่ำ เดือน ๖ (วันวิสาขบูชา) ทรงประทับขัดสมาธิบนบัลลังก์หญ้าคาใต้ต้นมหาโพธิ์
ใกล้ฝั่งเแม่น้ำเนรัญชรา
ปัจจุบันอยู่ในตำบลพุทธคยาประเทศอินเดีย.
เรียบเรียงโดย ฟ้าประทาน กุลภักดีประกาศ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น