หลักสูตรอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย
พุทธศักราช 2511 ได้ก่อตั้ง ตั้งอภิธรรมโชติกะวิทยาลัยขึ้นที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร อยู่ในพระสังฆราชูปถัมภ์ สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานอำนวยการจัดการศึกษา โดยได้รับความอุปถัมภ์จากมูลนิธิสัทธัมมโชติกะ และผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป จนกระทั่งพุทธศักราช 2524 ด้วยเมตตาธรรมและมองการณ์ไกลของ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ที่หวังความเจริญก้าวหน้าของอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้ประกาศให้อภิธรรมโชติกะวิทยาลัยเป็น หน่วยงาน หนึ่งของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยให้ชื่อว่า “อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” ขึ้นตรงต่อสำนัก อธิการบดี ปัจจุบัน อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการสังคม ตามมาตรา 9 วรรคสอง และ มาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ข้อ 11 (3) เรื่องการแบ่งส่วน งาน พุทธศักราช 2541 ได้ดำเนินการจัดการศึกษามาเป็น เวลา 36 ปีแล้ว มีสาขาทั่วประเทศ 57 แห่ง ทั้งในกรุงเทพฯ และต่าง จังหวัด มีบทบาทเผยแผ่ธรรมะในรูปแบบของการจัดการศึกษาพระอภิธรรมปิฎก อรรถกถา และฎีกาพระอภิธรรมต่างๆ ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยเหลือ พัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลและสังคมไทยให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสันติสุข และเกื้อกูลต่อการพัฒนาประเทศได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้อง กับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในทุกๆ ด้าน
» รวมใช้เวลาในการศึกษาจนจบหลักสูตรทั้ง 9 ชั้น 7 ปี 6 เดือนจบชั้นนี้มีคุณสมบัติเท่ากับปริญญาตรี
ประวัติการศึกษาอภิธรรมในไทย หนังสือที่ระลึกงานมอบประกาศนีบัตรอภิธรรมบัณฑิตเล่าประวัติ
ความเป็นมาของการศึกษาพระอภิธรรมในเมืองไทยดังนี้ เมื่อพุทธศักราช 2494 พระเดชพระคุณเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระพิมลธรรมสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง นายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เดินทางไปดูกิจการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ประเทศพม่า ได้เห็นการศึกษาพระอภิธรรมในประเทศพม่าอย่างแพร่หลาย ซึ่งในสมัยนั้นการศึกษาพระอภิธรรมในประเทศไทยยังไม่มี จึงได้ติดต่อรัฐบาลประเทศพม่าขออาราธนาพระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ พระเถระผู้เชี่ยวชาญพิเศษทางด้านพระอภิธรรมปิฎกจากประเทศพม่ามาดำเนินการเปิดการศึกษาพระอภิธรรมปิฎกครั้งแรกที่วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร จนกระทั่งพุทธศักราช 2509 พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ ถึงแก่มรณภาพ ศิษยานุศิษย์ได้ดำเนินการต่อเรื่อยมา
ประวัติการศึกษาอภิธรรมในไทย หนังสือที่ระลึกงานมอบประกาศนีบัตรอภิธรรมบัณฑิตเล่าประวัติ
ความเป็นมาของการศึกษาพระอภิธรรมในเมืองไทยดังนี้ เมื่อพุทธศักราช 2494 พระเดชพระคุณเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระพิมลธรรมสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง นายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เดินทางไปดูกิจการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ประเทศพม่า ได้เห็นการศึกษาพระอภิธรรมในประเทศพม่าอย่างแพร่หลาย ซึ่งในสมัยนั้นการศึกษาพระอภิธรรมในประเทศไทยยังไม่มี จึงได้ติดต่อรัฐบาลประเทศพม่าขออาราธนาพระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ พระเถระผู้เชี่ยวชาญพิเศษทางด้านพระอภิธรรมปิฎกจากประเทศพม่ามาดำเนินการเปิดการศึกษาพระอภิธรรมปิฎกครั้งแรกที่วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร จนกระทั่งพุทธศักราช 2509 พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ ถึงแก่มรณภาพ ศิษยานุศิษย์ได้ดำเนินการต่อเรื่อยมา
ชั้นที่ 1 จูฬอาภิธรรมิกะตรี (ใช้เวลาศึกษา 6 เดือน)
ปริจเฉทที่ 1 จิตตสังคหะ ธรรมชาติ การจำแนกจิตโดยย่อและโดยพิสดาร
ปริจเฉทที่ 2 เจตสิกสังคหะ ธรรมชาติและความสัมพันธ์ระหว่างจิตและเจตสิก
ปริจเฉทที่ 6 รูปสังคหะ นิพพาน เนื้อหาของรูปและนิพพาน
ปริจเฉทที่ 1 จิตตสังคหะ ธรรมชาติ การจำแนกจิตโดยย่อและโดยพิสดาร
ปริจเฉทที่ 2 เจตสิกสังคหะ ธรรมชาติและความสัมพันธ์ระหว่างจิตและเจตสิก
ปริจเฉทที่ 6 รูปสังคหะ นิพพาน เนื้อหาของรูปและนิพพาน
ชั้นที่ 2 จูฬอาภิธรรมิกะโท (ใช้เวลาศึกษา 6 เดือน)
ปริจเฉทที่ 3 ปกิณณกสังคหะ ความสัมพันธ์ระหว่างจิตและเจตสิก โดยประเภทแห่งเวทนา เหตุ กิจ ทวาร อารมณ์ และวัตถุ
ปริจเฉทที่ 7 สมุจจยสังคหะ โครงสร้างและเนื้อหาตามหลักสมุจจยสังคหะหมวดอกุศล มิสสกะ โพธิปักขิยะ และสัพพสังคหะ
ปริจเฉทที่ 3 ปกิณณกสังคหะ ความสัมพันธ์ระหว่างจิตและเจตสิก โดยประเภทแห่งเวทนา เหตุ กิจ ทวาร อารมณ์ และวัตถุ
ปริจเฉทที่ 7 สมุจจยสังคหะ โครงสร้างและเนื้อหาตามหลักสมุจจยสังคหะหมวดอกุศล มิสสกะ โพธิปักขิยะ และสัพพสังคหะ
ชั้นที่ 3 จูฬอาภิธรรมิกะเอก (ใช้เวลาศึกษา 6 เดือน)
ธัมมสังคณีสรูปัตถนิสสยะ (มาติกาโชติกะ)
โครงสร้างและเนื้อหาสาระของคัมภีร์ธัมมสังคณีประเภทของมาติกา ติกมาติกา ทุกมาติกา อธิธัมมทุกมาติกา สุตตันติกทุกมาติกา
เมื่อเรียนจบสอบชั้นที่ 3 หรือจูฬอาภิธรรมิกะเอก จึงได้ประกาศนียบัตร 1 ใบ
ธัมมสังคณีสรูปัตถนิสสยะ (มาติกาโชติกะ)
โครงสร้างและเนื้อหาสาระของคัมภีร์ธัมมสังคณีประเภทของมาติกา ติกมาติกา ทุกมาติกา อธิธัมมทุกมาติกา สุตตันติกทุกมาติกา
เมื่อเรียนจบสอบชั้นที่ 3 หรือจูฬอาภิธรรมิกะเอก จึงได้ประกาศนียบัตร 1 ใบ
ชั้นที่ 4 มัชฌิมอาภิธรรมมิกะตรี (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)
ปริจเฉทที่ 4 วิถีสังคหะ กฎเกณฑ์ของวิถีจิต ปัญจทวารวิถี มโนทวารวิถี กามชวนมโนทวารวิถี อัปปนาชวนมโนทวารวิถี การจำแนกวิถีจิตโดยภูมิและบุคคล
ปริจเฉทที่ 5 วิมุตตสังคหะ เนื้อหาของวิมุตตสังคหะ ภูมิจตุกกะ
ปฏิสนธิจตุกกะ กัมมจตุกกะ มรณุปปัตติจตุกะ
ปริจเฉทที่ 4 วิถีสังคหะ กฎเกณฑ์ของวิถีจิต ปัญจทวารวิถี มโนทวารวิถี กามชวนมโนทวารวิถี อัปปนาชวนมโนทวารวิถี การจำแนกวิถีจิตโดยภูมิและบุคคล
ปริจเฉทที่ 5 วิมุตตสังคหะ เนื้อหาของวิมุตตสังคหะ ภูมิจตุกกะ
ปฏิสนธิจตุกกะ กัมมจตุกกะ มรณุปปัตติจตุกะ
ชั้นที่ 5 มัชฌิมอาภิธรรมมิกะโท (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)
ปริจเฉทที่ 8 ปัจจัยสังคหะ ปัจจยสังคหะตามปฏิจจสมุปบาทนัย
ความเป็นไปของเหตุและผลที่เกี่ยวเนื่องกันตามปัฏฐานนัย
ปริจเฉทที่ 9 กัมมัฏฐานสังคหะ ประเภท ความสำคัญ และประโยชน์ของ
สมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยอาศัยอรรถกถา และฎีกาประกอบ
ปริจเฉทที่ 8 ปัจจัยสังคหะ ปัจจยสังคหะตามปฏิจจสมุปบาทนัย
ความเป็นไปของเหตุและผลที่เกี่ยวเนื่องกันตามปัฏฐานนัย
ปริจเฉทที่ 9 กัมมัฏฐานสังคหะ ประเภท ความสำคัญ และประโยชน์ของ
สมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยอาศัยอรรถกถา และฎีกาประกอบ
ชั้นที่ 6 มัชฌิมอาภิธรรมมิกะเอก (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)
ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ (ปัญหาพยากรณโชติกะ)
ศึกษาความหมาย โครงสร้าง เนื้อหาและประเภทของธาตุกถาในนยมาติกา อัพภันตรมาติกา นยมุขมาติกา ลักขณมาติกา พาหิรมาติกา
จบชั้นที่ 6 หรือมัชฌิมอาภิธรรมมิกะเอก จะได้ประกาศนียบัตร 1 ใบ
ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ (ปัญหาพยากรณโชติกะ)
ศึกษาความหมาย โครงสร้าง เนื้อหาและประเภทของธาตุกถาในนยมาติกา อัพภันตรมาติกา นยมุขมาติกา ลักขณมาติกา พาหิรมาติกา
จบชั้นที่ 6 หรือมัชฌิมอาภิธรรมมิกะเอก จะได้ประกาศนียบัตร 1 ใบ
ชั้นที่ 7 มหาอาภิธรรมมิกะตรี (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)
ยมกสรูปัตถนิสสยะ (มูลยมก) ประเภทของมูลยมกการจำแนกมูลยมก
ทั้ง 4 ประเภท โดยนัย 4 การจำแนกมูลยมก 4 และนัย 4 โดย
ยมก 3 ยมกสรูปัตถนิสสยะ (ขันธยมก)ประเภทของขันธยมก
ปัณณัตติวาระ ปวัตติวาระ และปริญญาวาระ
ยมกสรูปัตถนิสสยะ (มูลยมก) ประเภทของมูลยมกการจำแนกมูลยมก
ทั้ง 4 ประเภท โดยนัย 4 การจำแนกมูลยมก 4 และนัย 4 โดย
ยมก 3 ยมกสรูปัตถนิสสยะ (ขันธยมก)ประเภทของขันธยมก
ปัณณัตติวาระ ปวัตติวาระ และปริญญาวาระ
ชั้นที่ 8 มหาอาภิธรรมมิกะโท (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)
ยมกสรูปัตถนิสสยะ (อายตนยมก ธาตุยมก สัจจยมก)
ศึกษาความหมาย โครงสร้าง เนื้อหาสาระของอายตนยมก ธาตุยมก
สัจจยมก ประเภทของ อายตนยมก ธาตุยมก สัจจยมก ปัณณัตติวาระ
ปวัตติวาระ ปริญญาวาระ
ยมกสรูปัตถนิสสยะ (อายตนยมก ธาตุยมก สัจจยมก)
ศึกษาความหมาย โครงสร้าง เนื้อหาสาระของอายตนยมก ธาตุยมก
สัจจยมก ประเภทของ อายตนยมก ธาตุยมก สัจจยมก ปัณณัตติวาระ
ปวัตติวาระ ปริญญาวาระ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น